วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559
แนวคิดในการสร้างงานวิดิโอ
แนวคิดในการสร้างงานวิดิโอ
ก่อนที่ลงมือสร้างผลงานวิดีโอสักเรื่อง จะต้องผ่านกระบวนการคิด วางแผนมาอย่างรอบครอบ ไม่ใช่ไปถ่ายวิดีโอแล้วก็นำมาตัดต่อเลย โดยไม่มีการคิดให้ดีก่อนที่จะถ่ายทำ เพราะปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอก็คือการที่ไม่ได้ภาพตามที่ต้องการ เนื้อหาที่ถ่ายมาไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ในที่นี้ขอแนะนำแนวคิดในการทำงานวิดีโออย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้อง
การ จะไม่ต้องมาเสียเวลาแก้ไข้ภายหลัง โดยมีลำดับแนวคิดของงานสร้างวิดีโอเบื้องต้น ดังนี้
การ จะไม่ต้องมาเสียเวลาแก้ไข้ภายหลัง โดยมีลำดับแนวคิดของงานสร้างวิดีโอเบื้องต้น ดังนี้
1. เขียน Storyboardสิ่งแรกที่เราควรเรียนรู้ก่อนสร้างงานวิดีโอ ก็คือ การเขียนStoryboard คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ก่อนที่จะถ่ายทำจริง
ในการเขียน Storyboard อาจวิธีง่ายๆ ไม่ถึงขนาดวาดภาพปรกอบก็ได้ เพียงเขียนวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจนว่าต้อง
การสื่ออะไรหรืองานประเภทไหน จากนั้นดูว่าเราต้องการภาพอะไรบ้าง เขียนออกมาเป็นฉาก เรียงลำดับ 1, 2, 3,.......
ในการเขียน Storyboard อาจวิธีง่ายๆ ไม่ถึงขนาดวาดภาพปรกอบก็ได้ เพียงเขียนวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจนว่าต้อง
การสื่ออะไรหรืองานประเภทไหน จากนั้นดูว่าเราต้องการภาพอะไรบ้าง เขียนออกมาเป็นฉาก เรียงลำดับ 1, 2, 3,.......
2. เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้ ในการทำงานวิดีโอ เราจะต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง หรือ
ไฟลดนตรี
ไฟลดนตรี
3. ตัดต่องานวิดีโอการตัดต่อคือการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นงานวิดีโอ งานวิดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดขึ้นอยู่กับ
การตัดต่อเป็นสำคัญ ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้การตัดต่อในบทต่อไปก่อน
การตัดต่อเป็นสำคัญ ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้การตัดต่อในบทต่อไปก่อน
4. ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียงในขั้นตอนการตัดต่อ เราจะต้องตกแด่งงานวิดีโอด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียง
ดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานของเรามีสีสัน และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานของเรามีสีสัน และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
5. แปลงวิดีโอ เพื่อนำไปใช้งานจริงขั้นตอนการแปลงวิดีโอเป็นขั้นตอนสุดท้าย ในการทำงานวิดีโอที่เราได้ทำเรียบร้อยแล้วนั้นไปใช้งาน โปรแกรม Ulead Video Studio 8สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็น VCD, DVD หรือเป็นไฟล์ WMV สำหรับนำเสนอทางอินเทอร์เน็ต
อ้างอิง https://sites.google.com/site/natnicha2578/home/chnid-khxng-fil-widixo
อ้างอิง https://sites.google.com/site/natnicha2578/home/chnid-khxng-fil-widixo
มาตราฐานการแพร่ภาพวิดิโอ
มาตรฐานการแพร่ภาพวีดีโอ
มาตรฐานการแพร่ภาพทั้งสาม ได้แก่ NTSC, PAL และ SECAM เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันในหลายพื้นที่ทั่วโลก และได้มีการพัฒนามาตรฐานใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “HDTV (High-Definition Television” ทำให้ผู้ผลิตมัลติมีเดียจำเป็นที่จะต้องทราบถึงมาตรฐานที่ใช้งานในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม
- National Television System Committee (NTSC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตั้งมาตรฐานที่เกี่ยวกับโทรทัศน์และวีดีโอในสหรัฐ มาตรฐานนี้เป็นการเข้ารหัสข้อมูลแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดให้สร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอน 525 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 30 เฟรมต่อวินาที มีสี 16 ล้านสีที่แตกต่างกันและอัตรารีเฟรช เป็น 60 Halt-Frame (Interlace)ต่อวินาที แต่บนจอภาพคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้วิธีการที่เรียกว่า “Progressive-Scan” ซึ่งมีความแตกต่างจากจอภาพโทรทัศน์ตรงที่สามารถสร้างภาพเป็นแบบเฟรมต่อเฟรม โดยไม่มีการ Interlacing
- Phase Alternate Line (PAL) เป็นมาตรฐานของโทรทัศน์และวีดีโอที่นิยมในแถบยุโรป รวมถึงไทยด้วย เป็นการสร้างภาพจากแนวนอน 625 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 25 เฟรมต่อวินาทีและทำการแสดงภาพด้วยวิธี Interlacing เช่นกันแต่จะแสดงภาพในอัตรารีเฟรช เป็น 50 Halt-Frame ต่อนาที
- Sequential Color and Memory (SECAM) เป็นมาตรฐานของการแพร่สัญญาณโทรทัศน์และวีดีโอที่ใช้กันในฝรั่งเศส ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และประเทศในพื้นที่ใกล้เคียง ทำการแพร่สัญญาณแบบอนาลอก ส่วนการสร้างภาพจะเป็น 819 เส้น ด้วยอัตรารีเฟรช 25 เฟรมต่อวินาที ซึ่งจะแตกต่างจากมาตรฐาน NTCS และ PAL ในเรื่องการผลิต วิธีการแพร่ภาพออกอากาศ และจากสาเหตุที่ระบบนี้ไม่แตกต่างจากระบบ PAL มากนัก เครื่องรับโทรทัศน์ในยุโรปจึงทำการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ PAL และ SECAM
- High Definition Television (HDTV) เป็นเทคโนโลยีของการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง คือ 1280x720 ซึ่งเป็นความละเอียดสำหรับการแสดงภาพเช่นเดียวกับโรงภาพยนต์ แต่ในขณะพัฒนานั้นได้มีการโต้เถียงกันระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมโทรทัศน์กับกลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้ความละเอียดจอภาพเป็น1920x1080 พิกเซล หลังจากนั้นสรุปได้ว่า ความละเอียดนี้ไม่เหมาะสม ดังนั้นมาตรฐาน HDTV จึงได้กำหนดให้มีความละเอียดของจอภาพเป็น 1280x720
อ้างอิง http://kruoong.blogspot.com/2011/07/blog-post.html
ลักษณะการทำงานของวิดีโอ
ลักษณะการทำงานของวีดีโอ
กล้องวีดีโอเป็นการนำเอาหลักการของแสงที่ว่า “แสงตกกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนสู่เลนส์ในดวงตาของมนุษย์ทำให้เกิดการมองเห็น” มาใช้ในการสร้างภาพร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพที่ได้จะถูกบันทึกเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า “สัญญาณอนาลอก” ประกอบด้วยข้อมูลสี 3 ชนิด คือ แดง เขียว น้ำเงิน (Red, Green, Blue : สีRGB) และสัญญาณสำหรับเชื่อมความสัมพันธ์ของข้อมูล (Synchronization Plus : สัญญาณ SYNC) สัญญาณวีดีโอจะถูกส่งไปบันทึกยังตลับวีดีโอ (Video Cassette Recorder : VCR) โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัญญาณดิจิตอลและบันทึกลงบนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลด้วยหลักการของสนามแม่เหล็ก การบันทึกจะต้องบันทึกผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า “หัวเทปวีดีโอ” ที่สามารถบันทึกได้ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลควบคุมการแสดงภาพ นอกจากบันทึกเป็นม้วนเทปวีดีโอแล้วยังสามารถบันทึกในรูปของสัญญาณวิทยุได้อีกด้วย โดยอาศัย NTSC, PAL หรือ SECAM เพื่อช่วยในการส่งสัญญาณให้สามารถแพร่ภาพทางโทรทัศน์ได้
ชนิดของวิดิโอ
ชนิดของวิดีโอ
วิดีโอที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1. วิดีโออะนาลอก (Analog Video) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณอนาลอก (รูปของคลื่น) สำหรับวีดีโอประเภทนี้ เช่น VHS (Video Home System) ซึ่งเป็นม้วนเทปวีดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน เมื่อทำการตัดต่อข้อมูลของวีดีโอชนิดนี้ อาจจะทำให้คุณภาพลดน้อยลง
2. วีดีโอดิจิตอล (Digital Video) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงที่ได้มาจากกล้องดิจิตอล ให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 ส่วนการตัดต่อข้อมูลของภาพและเสียงที่ได้มาจากวีดีโอดิจิตอลนั้น จะแตกต่างจากวีดีโออนาลอก เพราะข้อมูลที่ได้จะยังคงคุณภาพความคมชัดเหมือนกับข้อมูลต้นฉบับ การพัฒนาของวีดีโอดิจิตอลส่งผลให้วีดีโออนาลอกหายไปจากวงการมัลติมีเดีย เนื่องจากสัญญาณดิจิตอลสามารถที่จะบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ และสามารถแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์ สามารถเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลได้ เพียงแต่ผู้ผลิตมีทรัพยากรทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเท่านั้น
อ้างอิง http://kruoong.blogspot.com/2011/07/blog-post.html
อ้างอิง http://kruoong.blogspot.com/2011/07/blog-post.html
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับVDO
อ้างอิง http://kruoong.blogspot.com/2011/07/blog-post.html
วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
สิ่งที่ควรพิจารณาในการจัดองค์ประกอบ
ในการถ่ายภาพให้ได้ดีนี้มิได้ขึ้นอยู่กับการมีกล้องที่ดี เลือกใช้ฟิล์มได้ถูกต้องและรู้จักใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เพียงเท่านั้น หากยังขึ้นอยู่กับเทคนิคการจัดองค์ประกอบของภาพถ่ายที่ดีด้วย การจัดองค์ประกอบหมายถึง การจัดวางสิ่งต่าง ๆ ภายในภาพให้ดูเหมาะสม น่าดูสวยงาม และมีหลักการทางศิลปะ การถ่ายภาพส่วนมากจะพบกับสถานะการณ์จัดองค์ประกอบ 2 ประการ คือ}
1. จัดองค์ประกอบ หรือจัดวางวัตถุให้อยู่ในตำแหน่งตามจุดมุ่งหมายสอดคล้องและสัมพันธ์กันในภาพ ซึ่งลักษณะนี้สามารถควบคุมได้ เช่น ถ่ายภาพคนภาพสิ่งของ ที่ผู้ถ่ายสามารถควบคุมการจัดวางตำแหน่งได้
2. จัดองค์ประกอบหรือจัดวางวัตถุที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น ตึกรามบ้านช่อง และเหตุการณ์เคลื่อนไหวต่าง ๆ แต่เราสามารถแก้ไขวัตถุที่ถูกถ่ายอยู่ในตำแหน่งที่ต้อการได้
การจัดองค์ประกอบช่วยทำให้ผู้ดูรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ในภาพ มีข้อคำนึง ดังนี้
1. ควรจะรวมอะไรไว้ในภาพ จึงจะเกิดความสวยงามสามารถแสดงเรื่องราวได้
2. ควรจะกดชัตเตอร์ เพื่อบันทึกภาพเมื่อใดจึงจะได้ภาพที่สื่อสารได้ตามต้องการ
เพื่อให้ได้ภาพถ่ายสวยงามสื่อสารได้ตามจุดประสงค์ ผู้ถ่ายต้องเลือกจัดภาพโดยยึดหลักพื้นฐานดังนี้ คือ
1. จุดและเส้น (Point & line) จุดเป็นพื้นฐานในทางศิลปทุกสาขาและเส้นก็เกิดจากการต่อกันของจุด เส้นใช้นำสายตาและแสดงการเคลื่อนไหวได้ไม่ว่าเส้นจะอยู่ลักษณะใด สามารถทำให้เกิดการเคลื่อนไหว (Dynamic) หรืออยู่กับที่ได้ที่นิยมใช้มี ดังนี้
1.1 เส้นตัวเอส S บางครั้งธรรมชาติอาจช่วยสร้างศิลปขึ้นได้ เช่น ถนนหนทาง รูปตัว S เป็นสิ่งที่นักถ่ายภาพอาจจะเลือกใช้ เพื่อให้ภาพถ่ายสวยงามอีกแบบหนึ่ง
ภาพถนน รูปตัว S
1.2 เส้นทะแยงมุม ในการถ่ายภาพสิ่งที่ตั้งเป็นแนวยาว ถ้าถ่ายภาพตามขวางธรรมดาจะทำให้ภาพดูแบน ๆ ไม่น่าสนใจ หากถ่ายภาพ โดยตั้งกล้องเฉียงจะได้ภาพมีลักษณะเส้นทะแยงมุมทำให้เกิดเห็นความคมชัดลึกของภาพได้ดีสวยงาม
ภาพเส้นทะแยงมุม
1.3 เส้นนำสายตา ในการถ่ายภาพอาจใช้แนวพุ่มไม้เป็นแนวนำสายตาผู้ชมเข้าไปสู่เนินสูง ๆ และหมู่ไม้เบื้องหน้าซึ่งเป็นจุดเด่นของภาพได้
ภาพเส้นนำสายตา
1.4 เส้นรัศมี การถ่ายภาพวัตถุที่มีลักษณะรูปทรงคล้ายดาวกระจายหรือรัศมีเป็นสิ่งที่ต้องยึดนำมาใช้ถ่ายภาพ โดยไม่ต้องอาศัยการแต่งเติมใด ๆ ภาพจะออกมาสวยงามได้
ภาพเส้นรัศมี
1.5 เส้นแนวนอน สร้างความรู้สึกที่สงบนิ่ง และมั่นคงให้กับภาพถ่าย การวางเส้นแนวนอน ควรให้อยู่สูงหรือต่ำกว่าระดับกลางภาพ เช่น เมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ที่ต้องการแสดงพื้นที่ส่วนล่างให้เห็นได้จากระยะใกล้ถึงลึกไกล ควรให้เส้นขอบฟ้าอยู่ข้างบนประมาณ 2/3 หรือ 3/4 ของพื้นที่ของภาพ ถ้าต้องการให้ภาพดูลึกไกล แสดงเรื่องราวของท้องฟ้า มากกว่าส่วนล่างให้เส้นขอบฟ้าอยู่ข้างล่างประมาณ 1/4 หรือ 1/3 ของพื้นที่ของภาพ ถ้ามีคนรวมอยู่ด้วย หลีกเลียงไม่ให้มีเส้นแนวนอนอยู่ระดับคอหรือศรีษะของคนในภาพ
1.6 เส้นตรง หรือเส้นตั้ง แสดงถึงความแข็งแรง มั่นคง สง่างาม
1.7 เส้นโค้ง แสดงถึงความอ่อนโยน ร่าเริง เบิกบานและมีความงดงามประกอบกัน
2. รูปร่าง (Shape) องค์ประกอบส่วนมากในภาพมีลักษณะที่เป็นรูปร่างอยู่มากสามารถบอกให้รู้ว่าสิ่งนั้นมีลักษณะเช่นไร ด้วยเค้าโครงภายนอกและลักษณะรูปร่างสามารถแยกแยะวัตถุได้เด่นชัดนำมาใช้ประกอบช่วยให้ภาพมีจุดสนใจสดุดตาแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้ถึงแม้รูปร่างจะไม่แสดงมิติความลึก หนาก็ตามแต่สามารถเข้าใจในภาพได้ เช่น การถ่ายภาพคนเงาดำย้อนแสง จะเห็นลักษณะรูปร่างของคนได้อย่างดี
ภาพคนเงาดำย้อนแสง
3. รูปทรง (Form) การถ่ายทอดลักษณะรูปทรงต่าง ๆ ได้สมบูรณ์นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพทิศทางของแสง และมุมกล้องเป็นสำคัญ รูปทรงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด
3.1 รูปทรงที่มีลักษณะ แบบเรขาคณิต (Geometric Form) เช่น สี่เหลี่ยมสามเหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม วงกลม เป็นต้น ซึ่ง เป็นพื้นฐานสำคัญในการถ่ายภาพให้ได้ดีและควรใช้การประสานกันของรูปทรง และสัดส่วนเหล่านี้ประกอบในการจัดภาพ เช่น จัดภาพรูปทรงสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมในการถ่ายภาพคนยืนอยู่ในกรอบหน้าต่าง หรือจัดภาพรูปทรงในการถ่ายภาพดอกกุหลาบที่มีกลิ่นดอกวกวนเป็นวงกลม เป็นต้น
ภาพการจัดภาพรูปวงกลม
3.2 รูปทรงทางธรรมชาติ (Organic Form) เป็นรูปทรงที่ให้ความรู้สึกทางโครงสร้างของการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต การนำรูปทรงชนิดนี้มาจัดองค์ประกอบจะทำให้เห็นได้ง่าย เพราะมีอยู่ในชีวิตประจำวัน
3.3 รูปทรงอิสระ (Free Form) เป็นรูปทรงที่ไม่สามารถจำแนกลักษณะได้แน่ชัดลงไป เพราะจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่มีที่สิ้นสุดให้ความรู้สึกทางจินตนาการได้มากที่สุด เช่น รูปทรงของก้อนเมฆ กระแสน้ำ หรือก้อนหิน เป็นต้น
4. พื้นผิว (Texture) พื้นผิวจะเพิ่มความรู้สึกที่เป็นจริงขึ้นมา (Realism) บอกให้ทราบว่าสิ่งนั้น ๆ มีผิวสัมผัสเช่นไร องค์ประกอบแต่ละอย่างจะมีผิวเรียบมันหรือหยาบและมีลวดลาย สีสันแตกต่างกันออกไป เช่น ผิวของกระจกจะเรียบมัน ผิวของหินจะขรุขระ ผิวของคนชราจะเป็นริ้วรอยเหี่ยวย่น เป็นต้น การเลือกใช้พื้นผิวต่างกันมาประกอบกันทำให้ภาพดูเด่นและน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่นไข่ที่มีผิวเรียบวางเด่นอยู่บนผิวขรุขระ สร้างความรู้สึกที่ขัดแย้งให้เกิดขึ้นและสดุดตามากด้วย อย่างไรก็ตามพื้นผิวจะแสดงเด่นชัดเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพ และทิศทางของแสงเป็นสำคัญ
ภาพที่มีลักษณะพื้นผิว
5. ลวดลาย (Pattern) ลวดลาย คือลักษณะรูปร่างรูปทรง เส้น รวมถึงสิ่งที่ปรากฏซ้ำซ้อนเหมือนกันมาก ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงต่อเนื่องกันหรือเรียงกันไปตามลำดับซึ่งจะพบเห็นเป็นประจำในชีวิตประจำวัน ทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นและมีขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ลวดลายอิฐบนกำแพงรั้วที่เรียงซ้อนกัน รถที่จอดเรียงรายกันหลาย ๆ คัน รถจักยานยนต์ที่เรียงกันเป็นแถว บางทีเรียกการจัดภาพถ่ายแบบนี้ว่าแบบซ้ำซ้อนนิยมใช้ประกอบเป็นโครงสร้างหลักของภาพ ช่วยเน้นองค์ประกอบสำคัญที่ต่างกัน ข้อควรระวังคือ อย่าจัดภาพให้เกิดความสับสนควรสอดแทรกจุดเด่นของภาพเอาไว้ด้วย เช่น รูปทรงของเจดีย์มีลักษณะคล้ายๆกัน และมีเณรเป็ฯจุดเด่นของภาพ
ตัวอย่างภาพลวดลาย
6. น้ำหนักสี (Tone) หรือ (Chiaroscuro) น้ำหนักความกลมกลืนของสีที่ปรากฎในภาพมีค่าแตกต่างกันเพราะมีสีอ่อนและสีเข้มต่างกัน น้ำหนักของภาพถ่ายขาว-ดำก็คือ ระดับความอ่อนแก่ของสีที่มืดที่สุดคือ สีดำและค่อย ๆ สว่างขึ้นจนสว่างที่สุด คือสีขาวและระหว่างสีดำกับสีขาวก็มีสีเทานั่นเอง ดังนั้นในการจัดองค์ประกอบเกี่ยวกับน้ำหนักสีนั้นต้องให้มีความตัดกันและกลมกลืนกันในระดับต่าง ๆ ที่พอเหมาะภาพถ่ายที่ดีควรจัดให้วัตถุมีค่าน้ำหนักแตกต่างจากฉากหลัง เพื่อเน้นวัตถุให้เด่นออกมาโดยทั่วไปการถ่ายภาพที่เกี่ยวข้องกับค่าของน้ำหนักนิยมถ่ายภาพ 2 ลักษณะคือ
6.1 ภาพสีสว่างขาว (High Key) คือภาพถ่ายที่มีลักษณะค่าน้ำหนักของสีสว่าง หรือสีขาวมาก ลักษณะนี้ให้ความรู้สึกสดใส มีชีวิตชีวา สนุกสนานร่าเริง บอบบาง อ่อนหวาน
ภาพสีสว่างขาว
6.2 ภาพสีส่วนใหญ่มืดเข้ม (Low Key) คือภาพถ่ายที่มีลักษณะค่าน้ำหนักของสีมืดมากหรือสีดำมาก ให้ความรู้ที่โศกเศร้าเสียใจ ลึกลับน่ากลัวเคร่งขรึม บางภาพอาจมีค่าน้ำหนักสีส่วนที่สว่างขาวตัดกับสีมืดมาก ๆ ก็ได้ ลักษณะนี้ให้ความรู้สึกที่น่าตื่นเต้นสดุดสายตา ส่วนภาพที่มีน้ำหนักสีที่กลมกลืนต่อเนื่องกัน จากสีที่เข้มในระยะฉากหน้าและจางลงไปถึงฉากหลัง หรือตรงกันข้าม คือฉากหน้าจางต่อไปถึงเข้มมากในฉากหลัง ภาพลักษณะนี้จะให้ความรู้สึกที่ลึกไกลได้
ภาพที่มีสีส่วนใหญ่มืดเข้ม
7. ช่องว่าง (Space) ในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวควรเว้นช่องว่างด้านหน้าสิ่งที่เคลื่อนไหวให้มากกว่าด้านหลัง เพื่อให้ผู้ดูรู้สึกอึดอัดและมีความรู้สึกว่าข้างหน้าเป็นทางปิดหรือตันที่วัตถุนั้นกำลังเคลื่อนไปชนเอาขอบของภาพ การจัดที่ว่างรอบ ๆ วัตถุช่วยเน้นให้วัตถุเด่นขึ้นมา โดยเฉพาะฉากหลังของภาพควรให้ว่างเปล่า ไม่สับสนวุ่นวายถ้าต้องการเน้นวัตถุ
ภาพที่เว้นช่องว่างได้เหมาะสม
8. กฎสามส่วน (Rule of Thirds) ก่อนการถ่ายภาพ ควรแบ่งบริเวณช่องมองภาพออกเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กันทั้งในแนวตั้งและแนวนอนจุดที่เส้นตัดกันคือบริเวณที่ควรวางสิ่งสำคัญของภาพไว้ เพราะตำแหน่งดังกล่าวจะทำให้ภาพเด่นขึ้น ควรเลือกใช้เพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้นใน 4 จุดดังเช่นจุดสำคัญของภาพคือ ใบหน้าของเด็กหญิงโดยเฉพาะคือดวงตา ซึ่งกำลังมองใบไม้ในมือซึ่งเป็นจุดสำคัญรองลงมา เพื่อให้สมบูรณ์จริง ๆ จึงให้ใบไม้และมือของเด็กหญิงอยู่ในบริเวณจุดตัดกันอีกจุดหนึ่ง ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างดวงตาและใบไม้ กฎข้อนี้มีข้อยกเว้นในกรณีที่ต้องการเน้นวัตถุที่มีความสำคัญมาก ก็อาจวางวัตถุนั้นไว้กลางภาพก็ได้ เช่น ภาพถ่ายใกล้ของดอกไม้ที่ต้องการ เน้นให้เห็นกลีบดอกอย่างชัดเจนที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของภาพ
ตัวอย่างภาพที่ใช้กฏสามส่วน
9. ความสมดุลย์ (Balance) ความสมดุลย์ ได้แก่การจัดให้ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ปรากฏในภาพ ให้มีลักษณะที่มีน้ำหนักเท่ากันทั้งสองด้านไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่งนั่นคือ ให้เกิดความสมดุลย์ทั้งในด้านวัตถุ น้ำหนักของสี แสงเป็นต้น ความสมดุลย์มี 2 ประเภท คือ
9.1 ความสมดุลย์แบบเสมอภาค (Formal or Symmetrical Balance) คือการจัดให้ส่วนประกอบในภาพเหมือนกันทั้ง 2 ด้านทั้งขนาด รูปร่าง และสี
ภาพที่มีความสมดุลย์แบบเสมอภาค
9.2 ความสมดุลย์แบบไม่เสมอภาค (Informal or Asymme-trical Balance) เป็นการจัดส่วนประกอบที่มีรูปทรงและสัดส่วนไม่เหมือนกันทั้งสองด้าน น้ำหนักสีไม่เท่ากันหรือพื้นผิวไม่เหมือนกันเป็นต้น ลักษณะนี้อาจแก้ไขให้เกิดความรู้สึกสมดุลย์ขึ้นมาได้เช่นการวางวัตถุรูปทรงใหญ่ แต่มีสีอ่อน อยู่ข้างซ้ายส่วนรูปทรงเล็กแต่มีสีเข้มอยู่ด้านขวามือก็จะช่วยให้เกิดดุลย์กันได้ หรือวางตำแหน่ง ของวัตถุที่มีขนาดใหญ่ อยู่ใกล้จุดกึ่งกลางภาพมากกว่าวัตถุอีกด้านหนึ่ง ซึ่งมีขนาดเล็ก หรือสีที่มีความสดใส เช่น สีแดง สีส้ม มีพื้นที่น้อยกว่าสีที่มีความสงบ เช่น สีฟ้า หรือสีขาว หรือพื้นผิวขรุขระ มีบริเวณน้อยกว่าพื้นผิวเรียบ เป็นต้น การจัดภาพลักษณะนี้ ต้องการให้แลดูดึงดูดความสนใจ และมีอิสระเสรีในการถ่ายภาพได้มาก
==ภาพที่มีความสมดุลย์แบบไม่เสมอภาค==
10. มุมกล้อง (Camera Angle) ภาพที่เลือกใช้มุมกล้องต่างกันถึงแม้จะเป็นวัตถุสิ่งของอย่างเดียวกันแต่จะมีผลต่อความคิด การสื่อความหมาย และอารมณ์แตกต่างกันโดยทั่วไปมุมกล้องแบ่งเป็น 3 ระดับคือ
10.1 ภาพระดับสายตา (Eye-level Angle) เป็นการถ่ายภาพที่กล้องอยู่ในตำแหน่งขนานกับพื้นดิน ในระดับเดียวกันกับสายตา ให้ความรู้สึกเป็นปกติธรรมดา
ภาพระดับสายตา
10.2 ภาพมุมต่ำ (Low Angle) เป็นการถ่ายภาพที่กล้องอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าวัตถุที่ถ่าย ให้ความรู้สึกบ่งบอกถึงความสูงใหญ่ สง่าผ่าเผย มีอำนาจ ทรงพลัง เป็นต้น
10.3 ภาพมุมสูง (High Angle) เป็นการถ่ายภาพที่กล้องอยู่ในตำแหน่งสูงกว่าวัตถุที่ถ่าย ให้ความรู้สึกบ่งบอกถึงขนาดเล็กความต่ำต้อยไม่สำคัญ หมดอำนาจวาสนาเป็นต้น
การเปลี่ยนมุมภาพแต่ละครั้ง ควรพิจารณาถึงผลดี ผลเสียก่อนกดชัตเตอร์ เช่น ถ้าถ่ายภาพผู้หญิงด้วยมุมต่ำ และระยะใกล้เกินไป จะทำให้รูปทรงของใบหน้าผิดสัดส่วนไม่สวยงาม จะเห็นคอสั้น คางใหญ่ จมูกบานกว้าง ใบหน้าแคบแหลม เป็นต้น เมื่อเลือกมุมภาพได้แล้วต้องคำนึงถึงลักษณะทิศทางของแสงด้วย
11. กรอบของภาพ (Framing) บางครั้งการถ่ายภาพ โดยการนำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาทำให้เกิดเป็นกรอบภาพขึ้นมา จะช่วยให้ภาพนั้นน่าดูยิ่งขึ้น เช่นการนำกิ่งไม้มาเป็นกรอบหน้าประกอบภาพพระพุทธรูปและเจดีย์ในเมืองโบราณที่สุโขทัยหรือการถ่ายภาพสามเณรกำลังกวาดลานวัดโดยถ่ายจากข้างในโบสถ์ให้ประตูโบสถ์เป็นกรอบ จะช่วยให้ภาพมีคุณค่ามีมิติ และความลึกน่าสนใจขึ้น
ภาพที่มีกรอบภาพ
12. พลัง (Power) ในบางครั้งการถ่ายภาพจะแสดงถึงพลังในตัวของมันเองออกมาทำให้ภาพเพิ่มความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหวที่ตั้งกล้องให้เห็นเส้นในแนวทะแยงมุม การส่ายกล้องตามสิ่งที่เคลื่อนไหวที่ทำให้ฉากหลังไม่ชัดแต่วัตถุชัดเจน พร้อมแสดงออกถึงพลังการเคลื่อนไหวของสิ่งนั้นตลอดจนการถ่ายภาพสิ่งที่เคลื่อนไหวด้วยความเร็วชัตเตอร์ช้า เช่น นักแข่งกำลังปั่นจักรยานด้วยความเร็วสูงเพื่อแสดงให้เห็นพลังการเคลื่อนไหว
ภาพที่มีพลัง
13. เอกภาพ (Unity) คือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบต่าง ๆ โดยยึดถือความสัมพันธ์กันในภาพ เชื่อมโยงประกอบกันจนอยู่ในลักษณะหลอมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน หรือเป็นหนึ่งเดียว ในการถ่ายภาพต้องคำนึงถึงจังหวะในการถ่ายระยะความใกล้ไกลและต้องทำให้เกิดความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่บันทึกลงในภาพถ่ายนั้น
ภาพที่มีความเป็นเอกภาพ
14. ความเรียบง่าย (Simplification) ความเรียบง่ายสามารถผลิตรูปภาพให้มีอิทธิพลได้ เช่น รูปภาพสถานีเตือนภัยในทะเลที่อยู่ท่ามกลางบรรยากาศพระอาทิตย์กำลังตกดินมีคลื่นกระทบฝั่งมีฉากหลังน้ำทะเล การจัดภาพไม่สลับซับซ้อนลักษณะนี้ทำให้บอกเรื่องราวได้ นอกจากนั้นอาจนำการจัดภาพอื่น ๆมาประกอบด้วย เช่นความสมดูลย์ ความกลมกลืนในภาพ (Harmonious Picture) เป็นต้น
ภาพที่มีความเรียบง่าย
15. ส่วนเกิน หรือสิ่งที่ทำให้ภาพขาดคุณภาพไป (Merger) ก่อนการกดชัตเตอร์ทุกครั้งควรพิจารณาฉากหลัง หรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้ดีเสียก่อนระวังอย่าให้ปรากฏสิ่งที่ไม่ต้องการเกิดขึ้นในภาพ โดยเฉพาะสิ่งที่จะทำให้ภาพเสียไป เช่นโคมไฟที่งอกขึ้นกลางศีรษะของหญิงสาว ทำให้ภาพเสียไปอย่างน่าเสียดาย
นอกจากนี้ อาจมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพ ให้ภาพน่าดู น่าชม มีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของนักถ่ายภาพแต่ละคนด้วย อย่างไรก็ตามการศึกษาจากผลงานของคนอื่น ๆ น่าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งในการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
อ้างอิง https://photop.wikispaces.com/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E