วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" | |||
คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้ ที่มาwww.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/.../page11.htm | |||
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1.ประโยชน์ด้านการศึกษา ใช้เพื่องานด้านการเรียนการสอนในหลายรูปแบบ เช่นการ
นำบทเรียน การผลิตสื่อการสอน การใช้ซีดีรอมสำหรับการเรียนรู้ เกมเพื่อการศึกษาหรือ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2.ด้านความบันเทิง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความสนุกสนานบันเทิง เช่น เล่นเกม
ฟังเพลงชมภาพยนต์
3.ด้านการเงิน การธนาคาร ใช้ในการเบิก - ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การโอนเงินด้วย
ระบบด้วยอัตโนมัติโดยโอนเงินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ การดูข้อมูลตลาดหุ้นการทำกราฟแสดงยอดขาย
4.ด้านการสื่อสารและคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต สื่อสาร
ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์ การคมนาคมทางเรือ เครื่องบิน
และรถไฟฟ้า
5.ด้านศิลปะและการออกแบบ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวาดรูปการ์ตูนออกแบบ
งานและการสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์
6.ด้านการแพทย์์ ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านการแพทย์หลายด้าน
เช่น การเก็บประวัติคนไข้ การใช้ทดลองประกอบการวินิจฉันของแพทย์ใช้ในการตรวจ
เลือก ตรวจปัสสาวะ การผ่าตัดหัวใจการตรวจสอบห้องพักผู้ป่วยว่าว่างหรือไม่ การ
ควบคุมแสงเลเซอร์การเอ็กซ์เรย์ การตรวจคลื่อนสมองคลื่นหัวใจ เป็นต้น
7.ด้านวิทยาศาสตร์และเคมี ใช้ในการวิเคราะห์สูตรทางเคมีการคำนวณสูตรทาง
วิทยาศาสตร์การค้นคว้าทดลองในห้องวิทยาศาสตร์ การคำนวณเกี่ยวกับระบบสุริยะ
จักรวาลและการเกิดปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงดาวต่างๆ
บทบาทของคอมพิวเตอร์
บทบาทของคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของเรา และความสำคัญนี้ได้ทวีมากยิ่งขึ้นในอนาคต คอมพิวเตอร์ได้เข้าไปมีบทบาทในทุกวงการอาชีพ โดยเฉพาะกับงานที่มีข้อมูลมาก ๆ และกำลังจะกลายเป็นเครื่องใช้สามัญในบ้านเหมือนกับเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานต่าง ๆ จำแนกได้ดังนี้ | |
1. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
| |
2. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการ
| |
3. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานสังคมศาสตร์
| |
4.บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์
| |
5และสื่อสาร
| |
6. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
| |
7. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร
| |
8. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม
| |
9. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์
| |
10. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก
|
ระดับของสารสนเทศ
ระดับของสารสนเทศ
ระดับขององค์กร
1. สารสนเทศระดับบุคคล คือ สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานให้แก่ผู้ใช้แต่ละคน ทำให้ทำงานในหน้าที่
ที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งสารสนเทศที่ใช้จะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำงาน
และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล เช่นพนักงานขายใช้สารสนเทศในการนำเสนอสินค้าให้ดูน่าสนใจ และ
นักเรียนใช้สารสนเทศทำรายงานที่สะอาดและเรียบร้อย
2. สารสนเทศระดับกลุ่ม คือ สารสนเทศที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีจุดมุ่งหมาย
ในการทำงานอย่างเดียวกัน ซึ่งส่งเสริมการใช้ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน สารสนเทศระดับกลุ่ม
จึงมีการใช้ระบบเครือข่ายมาร่วมในการทำงาน จึงทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และข้อมูลที่เก็บไว้ใน
ระบบฐานข้อมูลร่วมกัน ด้วยการสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเก็บ
ข้อมูล เช่น พนักงานขายสามารถใช้ข้อมูลสิ้นค้าแบบเดียวกันได้ทุกคน และนักเรียนสามารถสั่งพิมพ์เอกสาร
ด้วยเครื่องพิมพ์เดียวกันจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
3. สารสนเทศระดับองค์กร คือ สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในภาพรวมขององค์กร ซึ่งจะเกี่ยวข้อง
สัมพันธ์กันในหลายฝ่าย จึงมีการเชื่อมโยงสารสนเทศระดับกลุ่มหลาย ๆ กลุ่มเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดประโยชน์ใน
การบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลจากฝ่ายใดก็ได้ เพื่อประโยชน์ใน
การตัดสินใจ
ระดับของผู้บริหาร
1. ผู้บริหารระดับล่าง เป็นการใช้สารสนเทศในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น
ผู้จัดการใช้โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนสารสนเทศกับหัวหน้าแผนกต่าง ๆ
และนักเรียนใช้สารสนเทศในการทำงานหรือในการเรียนในวิชาต่าง ๆ
2. ผู้บริหารระดับกลาง เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะสั้น เหมาะสำหรับงานประเภท
การควบคุมและจัดการ เช่น ผู้จัดการนำสารสนเทศมาวางแผนการผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า และนักเรียนใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเลือกเรียนวิชาเลือกที่เหมาะสมกับนักเรียน
3. ผู้บริหารระดับสูง เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะยาว ใช้สำหรับควบคุมนโยบาย
และวางแผนเชิงกลยุทธ์ สารสนเทศที่ใช้จึงมักเป็นผลสรุปที่สามารถนำมาประกอบ การวิเคราะห์ การประเมิน
และการตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่นผู้จัดการนำผลสรุปค่าเฉลี่ยการผลิตสินค้ามาใช้ในการตัดสินใจซื้อ
เครื่องจักรใหม่ และนักเรียน ใช้ผลสรุปคะแนนเรียนทั้งหมดมาตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
ตามความสามารถ เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ
ระดับขององค์กร
1. สารสนเทศระดับบุคคล คือ สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานให้แก่ผู้ใช้แต่ละคน ทำให้ทำงานในหน้าที่
ที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งสารสนเทศที่ใช้จะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำงาน
และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล เช่นพนักงานขายใช้สารสนเทศในการนำเสนอสินค้าให้ดูน่าสนใจ และ
นักเรียนใช้สารสนเทศทำรายงานที่สะอาดและเรียบร้อย
2. สารสนเทศระดับกลุ่ม คือ สารสนเทศที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีจุดมุ่งหมาย
ในการทำงานอย่างเดียวกัน ซึ่งส่งเสริมการใช้ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน สารสนเทศระดับกลุ่ม
จึงมีการใช้ระบบเครือข่ายมาร่วมในการทำงาน จึงทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และข้อมูลที่เก็บไว้ใน
ระบบฐานข้อมูลร่วมกัน ด้วยการสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเก็บ
ข้อมูล เช่น พนักงานขายสามารถใช้ข้อมูลสิ้นค้าแบบเดียวกันได้ทุกคน และนักเรียนสามารถสั่งพิมพ์เอกสาร
ด้วยเครื่องพิมพ์เดียวกันจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
3. สารสนเทศระดับองค์กร คือ สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในภาพรวมขององค์กร ซึ่งจะเกี่ยวข้อง
สัมพันธ์กันในหลายฝ่าย จึงมีการเชื่อมโยงสารสนเทศระดับกลุ่มหลาย ๆ กลุ่มเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดประโยชน์ใน
การบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลจากฝ่ายใดก็ได้ เพื่อประโยชน์ใน
การตัดสินใจ
ระดับของผู้บริหาร
1. ผู้บริหารระดับล่าง เป็นการใช้สารสนเทศในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น
ผู้จัดการใช้โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนสารสนเทศกับหัวหน้าแผนกต่าง ๆ
และนักเรียนใช้สารสนเทศในการทำงานหรือในการเรียนในวิชาต่าง ๆ
2. ผู้บริหารระดับกลาง เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะสั้น เหมาะสำหรับงานประเภท
การควบคุมและจัดการ เช่น ผู้จัดการนำสารสนเทศมาวางแผนการผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า และนักเรียนใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเลือกเรียนวิชาเลือกที่เหมาะสมกับนักเรียน
3. ผู้บริหารระดับสูง เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะยาว ใช้สำหรับควบคุมนโยบาย
และวางแผนเชิงกลยุทธ์ สารสนเทศที่ใช้จึงมักเป็นผลสรุปที่สามารถนำมาประกอบ การวิเคราะห์ การประเมิน
และการตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่นผู้จัดการนำผลสรุปค่าเฉลี่ยการผลิตสินค้ามาใช้ในการตัดสินใจซื้อ
เครื่องจักรใหม่ และนักเรียน ใช้ผลสรุปคะแนนเรียนทั้งหมดมาตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
ตามความสามารถ เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ
นอกจากระดับสารสนเทศที่แบ่งตามองค์กรและผู้บริหารแล้ว ยังสามารถ แบ่งสารสนเทศตามระดับของความซับซ้อนของข้อมูลในสารสนเทศได้อีกด้วย
|
การจัดการสารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศมี 3 ขั้นตอน คือ การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล
และการดูแลรักษาข้อมูล
การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
เป็นขั้นตอนแรกในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งควรกระทำควบคู่กันไป คือ เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว
ก็ทำการตรวจสอบข้อมูลนั้นทันที เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการมากที่สุด
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก จึงควรกำหนดว่าจะต้องใช้ข้อมูลอะไร
บ้าง ข้อมูลได้มาจากไหน และจัดเก็บข้อมูลนั้นมาได้อย่างไร
2. การตรวจสอบข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อได้สารสนเทศ
ที่คุณภาพ
การประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูล คือ การนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมและตรวจสอบมา
กระทำเพื่อให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ดังนี้
1. การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล เป็นการแยกประเภทของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาอย่างเป็นระบบตามกลุ่ม
และประเภทของข้อมูลนั้น เพื่อให้สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ทั้งนี้อาจเก็บไว้ในรูปของแฟ้มเอกสารหรือแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
2. การจัดเรียงข้อมูล เป็นขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาหรืออ้างอิงข้อมูลในอนาคต
3. การคำนวณ เป็นการประมวลผลที่ต้องการผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่มีความละเอียดถูกต้อง แม่นยำ
เนื่องจากที่รวบรวมและจัดเก็บมานั้นอาจมีทั้งรูปแบบของข้อความและตัวเลข ซึ่งต้องมีการคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือ
ผลรวมของข้อมูลนั้น ๆ
4. การทำรายงาน เป็นการประมวลผลที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลในอนาคต ผู้ดำเนินการจะต้องสรุปข้อมูลเพื่อทำรายงานให้ตรงกับความต้องการในการใช้สารสนเทศ นั้น ๆ
โดยจะต้องนำเสนอรายงานในรูปแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการสารสนเทศ
การดูแลรักษาข้อมูล
การดูแลรักษาข้อมูล เป็นขั้นตอนการจัดการสารสนเทศมีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันและเก็บรักษาข้อมูล ไม่ให้สูญหาย ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลสำหรับนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคต
1. การจัดเก็บ คือการนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและประมวลผลแล้วมาบันทึกเข้าสู่ระบบข้อมูล
อย่างมีระเบียบและเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน ทั้งนี้อาจจัดเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้มเอกสาร
สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
2. การทำสำเนา คือ การเพิ่มจำนวนข้อมูลด้านปริมาณ โดยเนื้อหาของข้อมูลจะไม่เปลี่ยนแปลงไป
จากต้นฉบับหรือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว สามารถกระทำได้โดยการคัดลอกทั้งจากมนุษย์หรือ
เครื่องจักรต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครื่องถ่ายเอกสารหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้
3. การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล คือ การนำสำเนาที่ทำเพิ่มไว้แจกจ่ายให้แก่ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง
4. การปรับปรุงข้อมูล คือ การแก้ไขปรับปรุงรายการข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน อาจกระทำโดยการแก้ไขข้อมูลบางส่วนหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงในระบบข้อมูล
การจัดการสารสนเทศมี 3 ขั้นตอน คือ การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล
และการดูแลรักษาข้อมูล
การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
เป็นขั้นตอนแรกในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งควรกระทำควบคู่กันไป คือ เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว
ก็ทำการตรวจสอบข้อมูลนั้นทันที เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการมากที่สุด
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก จึงควรกำหนดว่าจะต้องใช้ข้อมูลอะไร
บ้าง ข้อมูลได้มาจากไหน และจัดเก็บข้อมูลนั้นมาได้อย่างไร
2. การตรวจสอบข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อได้สารสนเทศ
ที่คุณภาพ
การประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูล คือ การนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมและตรวจสอบมา
กระทำเพื่อให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ดังนี้
1. การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล เป็นการแยกประเภทของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาอย่างเป็นระบบตามกลุ่ม
และประเภทของข้อมูลนั้น เพื่อให้สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ทั้งนี้อาจเก็บไว้ในรูปของแฟ้มเอกสารหรือแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
2. การจัดเรียงข้อมูล เป็นขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาหรืออ้างอิงข้อมูลในอนาคต
3. การคำนวณ เป็นการประมวลผลที่ต้องการผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่มีความละเอียดถูกต้อง แม่นยำ
เนื่องจากที่รวบรวมและจัดเก็บมานั้นอาจมีทั้งรูปแบบของข้อความและตัวเลข ซึ่งต้องมีการคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือ
ผลรวมของข้อมูลนั้น ๆ
4. การทำรายงาน เป็นการประมวลผลที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลในอนาคต ผู้ดำเนินการจะต้องสรุปข้อมูลเพื่อทำรายงานให้ตรงกับความต้องการในการใช้สารสนเทศ นั้น ๆ
โดยจะต้องนำเสนอรายงานในรูปแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการสารสนเทศ
การดูแลรักษาข้อมูล
การดูแลรักษาข้อมูล เป็นขั้นตอนการจัดการสารสนเทศมีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันและเก็บรักษาข้อมูล ไม่ให้สูญหาย ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลสำหรับนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคต
1. การจัดเก็บ คือการนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและประมวลผลแล้วมาบันทึกเข้าสู่ระบบข้อมูล
อย่างมีระเบียบและเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน ทั้งนี้อาจจัดเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้มเอกสาร
สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
2. การทำสำเนา คือ การเพิ่มจำนวนข้อมูลด้านปริมาณ โดยเนื้อหาของข้อมูลจะไม่เปลี่ยนแปลงไป
จากต้นฉบับหรือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว สามารถกระทำได้โดยการคัดลอกทั้งจากมนุษย์หรือ
เครื่องจักรต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครื่องถ่ายเอกสารหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้
3. การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล คือ การนำสำเนาที่ทำเพิ่มไว้แจกจ่ายให้แก่ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง
4. การปรับปรุงข้อมูล คือ การแก้ไขปรับปรุงรายการข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน อาจกระทำโดยการแก้ไขข้อมูลบางส่วนหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงในระบบข้อมูล
การจัดการสารสนเทศมีการพัฒนาไปตามเทคโนโลยีที่หลากหลาย
ทำให้สามารถนำผลที่ได้รับไปใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น จนถือได้ว่า การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการสารสนเทศ |
ที่มาwww.seekan.ac.th/it_com/lesson_01_2.html
วิธีการประมวลผล
วิธีการประมวลผล
ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1) ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (Numeric Data) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำ ไปคำนวณได้ ข้อมูลแบบนี้เขียนได้หลายรูปแบบ คือ
ก. เลขจำนวนเต็ม หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12, 9, 137 , 8319 , -46
ข. เลขทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12 หรือเป็นจำนวนที่มีเศษทศนิยมก็ได้ เช่น 12.763
เลขทศนิยมแบบนี้สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบคือ
ก. แบบที่ใช้กันทั่วไป เช่น 12., 9.0 ,17.63, 119.3267 , -17.34
ข. แบบที่ใช้งานทางวิทยาศาสตร์ เช่น
123. x 104 หมายถึง 1230000.0
13.76 x 10-3 หมายถึง 0.01376
- 1764.0 x 102 หมายถึง -176400.0
- 1764.10-2 หมายถึง -17.64
2) ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (Character Data) หมายถึง ข้อมูลที่ ไม่สามารถนำ ไปคำนวณได้ แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ เช่น การเรียงลำดับตัวอักษร ข้อมูลอาจเป็นตัวหนังสือ ตัวเลข หรือเครื่องหมายใด ๆ เช่น COMPUTER, ON-LINE, 1711101,&76
วิธีการประมวลผลข้อมูล
วิธีการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ มีหลายวิธี ดังนี้
1) การคำนวณ (Calculation) หมายถึง การนำข้อมูลที่เป็นตัวเลขมาทำการ บวก ลบ คูณ หารยกกำลัง เช่น การคำนวณภาษี การคำนวณค่าแรง เป็นต้น
2) การจัดเรียงข้อมูล (Sorting) เป็นการเรียงข้อมูลจากน้อยไปหามาก หรือมากไปหาน้อย เพื่อทำให้ดูง่ายขึ้น ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้เร็วขึ้น เช่น การเรียงคะแนนดิบของนักเรียนจากมาก ไปหาน้อย การเก็บบัตรดัชนีสำหรับหนังสือต่างๆ โดยการเรียงตามตัวอักษร จาก ก ข ค ถึง ฮ เป็นต้น
3) การจัดกลุ่ม (Classifying) หมายถึง การจัดข้อมูลโดยการแยกออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ต่างๆ เช่น การนำข้อมูลเกี่ยวกับประวัตินักศึกษา มาแยกตามคณะต่างๆ เช่น แยกเป็นนักศึกษาที่ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ นักศึกษาที่สังกัดคณะครุศาสตร์ เป็นต้น การทำเช่นนี้ทำให้การค้นหาข้อมูล ทำได้ง่ายขึ้น และยังสะดวกสำหรับทำรายงานต่างๆ
4) การดึงข้อมูล (Retrieving) หมายถึง การค้นหาและการนำข้อมูลที่ต้องการมาจากแหล่ง เก็บข้อมูล เพื่อนำไปใช้งาน
5) การรวมข้อมูล (Merging) หมายถึง การนำข้อมูลตั้งแต่สองชุดขึ้นไปมารวมกันให้เป็นชุด เดียวเช่น การนำประวัติส่วนตัวของนักศึกษา และประวัติการศึกษามารวมเป็นชุดเดียวกัน เป็นประวัตินักศึกษาเป็นต้น
6) การสรุปผล (Summarizing) หมายถึง การสรุปส่วนต่างๆของข้อมูลโดยย่อเอา เฉพาะส่วนที่เป็น ใจความสำคัญ เพื่อเน้นจุดสำคัญและแนวโน้ม เช่น การนำข้อฒุลมาแจงนับและ ทำเป็นตารางการ หายอดนักศึกษา ของแต่ละวิชา ข้อมูลเหล่านี้ใช้สำหรับพิมพ์เป็นรายงานสรุป ส่งขึ้นไปให้ผู้บริหาร ระดับสูง เพื่อใช้ในการบริหาร
7) การทำรายงาน (Reporting) หมายถึง การนำข้อมูลมาจัดพิมพ์รายงานรูปแบบต่างๆ เช่น รายงานการวิเคราะห์อาชีพของผู้ปกครองของนักศึกษา รายงานการเรียนของนักศึกษา เป็นต้น
8) การบันทึก (Recording) หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลเอาไว้โดยทำการคัดลอกข้อมูล จากต้นฉบับแล้วเก็บเป็นแฟ้ม (Filing) เช่น การบันทึกประวัติส่วนตัวนักศึกษาแต่ละคน เป็นต้น
9) การปรับปรุงรักษาข้อมูล (Updating) หมายถึง การเพิ่ม (Add) หรือการเอาออก (Delete) และการเปลี่ยนค่า (Change) ข้อมูลที่อยู่ในแฟ้มให้ทันสมัยอยู่เสมอ
วิธีการประมวลผล (Processing Technique) ในรูปแบบที่2 การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการประมวลผลทางธุรกิจนั้นมีวิธีการประมวลผลได้หลายแบบดังนี้
1. การประมวลผลแบบชุด (Batch Processing)
คือ การประมวลผลโดยผู้ใช้จะทำการรวบรวมเอกสารที่ต้องการประมวลผลไว้เป็นชุดๆ ซึ่งแต่ละชุดอาจจะกำหนดเท่ากับเอกสาร 10 หรือ 20 รายการหรือมากกว่าก็ได้แต่ให้มีขนาดเท่ากัน แล้วป้อนข้อมูลดังกล่าวสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงใช้คำสั่งให้ประมวลผลพร้อมกันที่ละชุด
2. การประมวลผลแบบโต้ตอบ (Interactive)
ที่มาwww.bs.ac.th/2548/e_bs/g7/raim/in4page2.html
ประเภทของข้อมูลสารสนเทศ
ประเภทของข้อมูลสารสนเทศ
ข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามโดยตรง การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ข้อมูลที่ได้จากเครื่องจักรอัตโนมัติ ได้แก่ เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านเครื่องหมายบนกระดาษ
2. ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้วลักษณะที่ดีของสารสนเทศ
1. สารสนเทศที่ดีต้องมีความความถูกต้อง (Accurate) และไม่มีความผิดพลาด
2. ผู้ที่มีสิทธิใช้สารสนเทศสามารถเข้าถึง (Accessible) สารสนเทศได้ง่าย ในรูปแบบ และเวลาที่เหมาะสม ตาม
ความต้องการของผู้ใช้
3. สารสนเทศต้องมีความชัดเจน (Clarity) ไม่คลุมเครือ
4. สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ (Complete) บรรจุไปด้วยข้อเท็จจริงที่มีสำคัญครบถ้วน
5. สารสนเทศต้องมีความกะทัดรัด (Conciseness) หรือรัดกุม เหมาะสมกับผู้ใช้
6. กระบวนการผลิตสารสนเทศต้องมีความประหยัด (Economical) ผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจมักจะต้องสร้างดุลยภาพ
ระหว่างคุณค่าของสารสนเทศกับราคาที่ใช้ในการผลิต
7. ต้องมีความยึดหยุ่น (Flexible) สามารถในไปใช้ในหลาย ๆ เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์
8. สารสนเทศที่ดีต้องมีรูปแบบการนำเสนอ (Presentation) ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
9. สารสนเทศที่ดีต้องตรงกับความต้องการ (Relevant/Precision) ของผู้ที่ทำการตัดสินใจ
10. สารสนเทศที่ดีต้องมีความน่าเชื่อถือ (Reliable) เช่น เป็นสารสนเทศที่ได้มาจากกรรมวิธีรวบรวมที่น่าเชื่อ ถือ หรือแหล่ง (Source) ที่น่าเชื่อถือ เป็นต้น
11. สารสนเทศที่ดีควรมีความปลอดภัย (Secure) ในการเข้าถึงของผู้ไม่มีสิทธิใช้สารสนเทศ
12. สารสนเทศที่ดีควรง่าย (Simple) ไม่สลับซับซ้อน มีรายละเอียดที่เหมาะสม (ไม่มากเกินความจำเป็น)
13. สารสนเทศที่ดีต้องมีความแตกต่าง หรือประหลาด (Surprise) จากข้อมูลชนิดอื่น ๆ
14. สารสนเทศที่ดีต้องทันเวลา (Just in Time : JIT) หรือทันต่อความต้องการ (Timely) ของผู้ใช้ หรือสามารถส่ง
ถึงผู้รับได้ในเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
15. สารสนเทศที่ดีต้องเป็นปัจจุบัน (Up to Date) หรือมีความทันสมัย ใหม่อยู่เสมอ มิเช่นนั้นจะไม่ทันต่อการ
เปลี่ยนแปลงที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
16. สารสนเทศที่ดีต้องสามารถพิสูจน์ได้ (Verifiable) หรือตรวจสอบจากหลาย ๆ แหล่ง ได้ว่ามีความถูกต้อง
การทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วย
18มิ.ย.
ส่วนประกอบสำคัญที่คอมพิวเตอร์ทุกประเภทมี ได้แก่
1. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit: CPU)
ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยมีหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างหน่วยความจำด้วย ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียูนี้จะประกอบด้วย
1.1 หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit: ALU)
ทำหน้าที่ในการคำนวณ เช่น บวก ลบ คูณ หาร และหน้าที่ในการเปรียบเทียบทางตรรกะโดยหน่วยควบคุมจะควบคุมความเร็วในการคำนวณ
ทำหน้าที่ในการคำนวณ เช่น บวก ลบ คูณ หาร และหน้าที่ในการเปรียบเทียบทางตรรกะโดยหน่วยควบคุมจะควบคุมความเร็วในการคำนวณ
1.2 หน่วยควบคุม (Control Unit)
ทำหน้าที่ในการควบคุมกลไกการทำงานของระบบทั้งหมด โดยจะทำงานประสานงานกับหน่วยคำนวณ และหน่วยความจำ และตรรกะซีพียูหลักที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คือ ไมโครชิป หรือที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor)
ทำหน้าที่ในการควบคุมกลไกการทำงานของระบบทั้งหมด โดยจะทำงานประสานงานกับหน่วยคำนวณ และหน่วยความจำ และตรรกะซีพียูหลักที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คือ ไมโครชิป หรือที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor)
2. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รอทำการประมวลผล และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวล ในระหว่างที่รอส่งไปยังหน่วยแสดงผลลัพธ์ประเภทข้องหน่วยความจำสามารถแบ่งได้ดังนี้
2.1 ตามลักษณะของเก็บข้อมูล จะแบ่งได้เป็น
หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ ( Volatile Memory) คือในกรณีที่ไฟฟ้าดับหรือกำลังไฟฟ้าไม่เพียงพอข้อมูลที่เก็บไว้ก็จะหายหมด
หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน ( Nonvolatile Memory) หน่วยความจำแบบนี้จะเก็บข้อมูลได้โดยไม่ขึ้นอยู่กับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจร
2.2 ตามสภาพการใช้งาน จะแบ่งได้เป็น
หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว ( ROM) หรือรอม เป็นหน่วยความจำชนิดไม่ลบเลือน คือซีพียูสามรถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้
หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม ( RAM) หรือแรม เป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือสามารถเขียนหรืออ่านข้อมูลได้ การเขียนหรืออ่านจะเลือกที่ตำแหน่งใดก็ได้
3. หน่วยความจำรอง (Virtual Memory)
มีเพื่อเพิ่มความสามารถในการจดจำของคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น ตัวอย่างของหน่วย ความจำรองได้แก่
แผ่นบันทึก หรือแผ่นดิสก์ ( Diskette)
มีลักษณะเป็นแผ่นกลมแบน ถูกเคลือบไว้ด้วยสารเหล็กออกไซด์ เพื่อให้เกิดสนามแม่เหล็กได้ การอ่านข้อมูลของแผ่นดิสก์เวลาที่อ่านหัวอ่านจะแตะที่พื้นผิวของแผ่น ทำให้มีการเสื่อมคุณภาพได้เมื่อใช้ไปนานๆ แผ่นบันทึกในปัจจุบันมีขนาด 5.25 นิ้วและ 3.5 นิ้ว
ฮาร์ดดิสก์ ( Hard disk)
การเก็บข้อมูลจะเก็บลงแผ่นโลหะอะลูมิเนียมที่เคลือบด้วยสารเหล็กออกไซด์ ฮาร์ดดิสก์สามารถบันจุข้อมูลได้มากกว่าและมีความเร็วกว่าฟลอปปี้ดิสก์ การบันทึกข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะแบ่งเป็นวงรอบเรียกว่า แทร็ก ( Track) ซึ่งจะเก็บข้อมูลเป็นวงรอบหลาย ๆ วง การที่เราฟอร์แมต (Format) ฮาร์ดดิสก์เวลาที่เราซื้อมาใหม่ ๆ นั้นก็เพื่อสร้างแทร็กนั่นเอง และในแต่ละแทร็กจะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่า เซ็กเตอร์ (Sector) โดย 1 เซ็กเตอร์จะมีความจุเท่ากับ 512 ไบต์ การอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสก์เวลาที่อ่านหัวอ่านจะไม่แตะที่พื้นผิวของแผ่นแต่จะลอยสูงจากผิวประมาณ 4 ไมครอน ซึ่งถือว่าใกล้มากจนเกือบสัมผัส
ซีดีรอม ( Compact Disk Read only Memory: CDROM)
เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการใช้งานสูง และสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ซีดีรอมเป็นเทคโนโลยีจานแสง คือ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลนั้นหัวอ่านไม่ต้องสัมผัสกับจานแต่จะใช้ลำแสงส่องและสะท้อนกลับ ซีดีรอมนี้สามารถเก็บข้อมูลที่เป็นข้อความ รูปภาพ เสียงและภาพวีดีโอ
เวิร์ม ( Write Once Read Many: WORM)
เป็นสื่อชนิดที่มีการบันทึกแล้วไม่มีการบันทึกใหม่ แต่จะมีการเรียกใช้หรืออ่านได้หลายครั้ง การที่จะเขียนข้อมูลลงแผ่นต้องใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ ตัวแผ่นเป็นโลหะและใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรม
4 อุปกรณ์รับเข้า (Input Device)
ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รับเข้าที่เป็นที่
รู้จักและนิยมใช้ได้แก่
รู้จักและนิยมใช้ได้แก่
แป้นพิมพ์ ( Keyboard) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกเครื่องจะต้องมีการรับข้อมูลคือ ผู้ใช้กดแป้นพิมพ์แล้วจึงแปลงรหัสเข้าสู่การประมวลผลต่อไป
เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น เมาส์จะมีรูปร่างพอเหมาะกับมือ และมีลูกกลิ้งอยู่ข้างล่าง โดยระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของลูกกลิ้ง และรับคำสั่งจากการกดปุ่มเมาส์
สแกนเนอร์ (Scanner) จะทำงานโดยการอ่านรูปภาพ แล้วแปรเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าใจได้
5 อุปกรณ์ส่งออก (Output Device)
ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่ผู้ใช้คุ้นเคยมากที่สุด ใช้แสดงผลในรูปของข้อความและรูปภาพ เริ่มแรกนั้นมีการนำเอาโทรทัศน์มาเป็นจอภาพสำหรับการแสดงผล แต่ผลที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจนัก จึงมีการผลิตจอขั้นมาจอภาพนั้นมีหลายลักษณะซึ่งลักษณะที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คุ้นเคยและพบเห็นบ่อย ๆ ได้แก่
จอภาพแบบซีอาร์ที ( Cathode ray tube: CRT)
จะมีลักษณะจอโค้งนูน ลักษณะการแสดงผลนั้นเริ่มแรกแสดงผลได้เฉพาะเป็นตัวอักษรเท่านั้น แต่จะมีความละเอียดสูงเรียกว่า จอภาพแบบสีเดียว (Monochrome Display Adapter: MDA) ต่อมามีการพัฒนาจอสี (Color Graphic Adapter: CGA) ซึ่งสามารถแสดงภาพสีและภาพกราฟิกได้ แต่จะแสดงตัวอักษรและตัวเลขได้ไม่ดีเท่าจอแบบสีเดียว จอรุ่นต่อมาที่สามารถแสดงภาพกราฟิกได้ละเอียด และมีจำนวนสีมากขึ้นเรียกว่า จอสีภาพละเอียด (Enhance Graphic Adapter: EGA)
ส่วนจอสีภาพละเอียดพิเศษ (Video Graphic Array: VGA) เป็นจอภาพที่มีความละเอียดสูงมาก ปัจจุบันจอภาพที่ใช้สำหรับงานคอมพิวเตอร์ในด้านการออกแบบจะใช้จอภาพ เอ็กซ์วีจีเอ (extra Video Graphic Array : XVGA)
จอภาพแบบแอลซีดี ( Liquid Crystal Display: LCD )
เดิมเป็นจอภาพที่ใช้กับเครื่องคิดเลขและนาฬิกา แต่ปัจจุบันจะพบได้ในเครื่อง PC แบบพกพา เช่น โน้ตบุ้คหรือแล็ปท็อป จอภาพแบบนี้จะมีลักษณะแบนเรียบและบาง และได้พัฒนาให้การแสดงผลมีความละเอียดและได้ภาพที่ชัดเจน
เครื่องพิมพ์ (Printers) ถือเป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สำคัญรองลงมาจากจอภาพ เพราะจะแสดงผลลัพธ์ลงบนกระดาษทำให้สะดวกต่อการใช้งาน (อุปกรณ์ที่สามารถเก็บผลที่แสดงออกมาได้ เราเรียกว่า Hard copy ส่วนจอภาพจะเป็น Soft copy) ลักษณะของเครื่องพิมพ์ที่ใช้กันในปัจจุบันได้แก่
เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot-Matrix Printers)
คุณภาพของงานพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ ชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนจุดของเครื่อง เพราะผลที่ได้จากการพิมพ์จะมีลักษณะเป็นจุด เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีราคาถูกเหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก เครื่องพิมพ์แบบจุดนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบกระทบ
( impact printer ) คือ เวลาพิมพ์หัวพิมพ์จะกระทบกับผ้าหมึก
คุณภาพของงานพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ ชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนจุดของเครื่อง เพราะผลที่ได้จากการพิมพ์จะมีลักษณะเป็นจุด เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีราคาถูกเหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก เครื่องพิมพ์แบบจุดนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบกระทบ
( impact printer ) คือ เวลาพิมพ์หัวพิมพ์จะกระทบกับผ้าหมึก
เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (Inkjet Printer)
หลักการทำงานคือการฉีดหมึกลงบนกระดาษเป็นจุดเล็ก ๆ เพื่อให้ได้รูปแบบงานพิมพ์ที่ต้องการ งานพิมพ์ที่ได้จะมีความละเอียดกว่าเครื่องพิมพ์แบบจุดมาก เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ ( Non – impact printer) เพราะเครื่องพิมพ์แบบนี้ทำงานโดยไม่ต้องใช้แถบผ้าหมึก
เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer)
หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์แบบนี้ จะใช้หลักการเดียวกันกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือใช้แสงเลเซอร์ในการพิมพ์เรียกว่า LED (Light-Emit-ting Diode) และ LCS (Liquid Crystal Shutter) ซึ่งจะพิมพ์งานออกทีละหน้า เราเรียกงานพิมพ์แบบนี้ว่า ppm (Page per minute ) ทั้งงานพิมพ์ที่ได้ก็มีคุณภาพสูงและคมชัดมาก เวลาพิมพ์ก็ไม่ส่งเสียงดังรบกวน เครื่องพิมพ์แบบนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ (Non – impact printer ) เช่นกัน
หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์แบบนี้ จะใช้หลักการเดียวกันกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือใช้แสงเลเซอร์ในการพิมพ์เรียกว่า LED (Light-Emit-ting Diode) และ LCS (Liquid Crystal Shutter) ซึ่งจะพิมพ์งานออกทีละหน้า เราเรียกงานพิมพ์แบบนี้ว่า ppm (Page per minute ) ทั้งงานพิมพ์ที่ได้ก็มีคุณภาพสูงและคมชัดมาก เวลาพิมพ์ก็ไม่ส่งเสียงดังรบกวน เครื่องพิมพ์แบบนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ (Non – impact printer ) เช่นกัน
พล็อตเตอร์ (Plotter)
เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มักจะใช้ในงานเขียนแบบ หรืองานด้านกราฟิก เช่นพิมพ์เขียว การพิมพ์แผนผังขนาดใหญ่ แผนที่ หัวพิมพ์จะทำงานเป็นเหมือนปลายปากกา ลักษณะงานพิมพ์จะเป็นงานที่ซับซ้อนและใช้กระดาษแผ่นใหญ่ ๆ ในการพิมพ์
ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศจะส่งผลทั้งในด้านบวกและด้านลบต่อผู้ใช้งานโดยตรงและบุคคลรอบข้าง ดังน
ี้
ผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต
1. ส่งเสริมการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น สามารถเลือกศึกษาเรื่องใด สถานที่ใด หรือเวลาใดก็ได้
เกิดการเรียนการสอนทางไกล การเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
2. สร้างความเสมอภาคในสังคม เผยแพร่ข่าวสารไปในทุกแห่งแม้ในถิ่นทุรกันดารต่าง ๆ
3. ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม สามารถตรวจสอบและวางแผนรักษาสภาพแวดล้อมได้อย่าง ครอบคลุมและทั่วถึง เพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
4. เพิ่มระบบป้องกันประเทศ โดยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับความมั่นคงของประเทศชาติ ทำให้เกิดระบบป้องกันภัยและระบบเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
และยังมีระบบการใช้คอมพิวเตอร์ในอาวุทยุทโธปกรณ์อีกด้วย
5. เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตทางการค้า จากการผลิตในระบบอุตสาหกรรมที่นำ เครื่องคอมพิวเตอร์มาควบคุม ทำให้เกิดผลผลิตหรือสินค้าที่มีคุณภาพโดยใช้เวลาการผลิตที่สั้นลง
6. ส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เกิดการสร้างภาพยนตร์แอนนิเมชัน มัลติมีเดีย
และสิ่งประดิษฐ์ในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย
7. ช่วยให้สุขภาพและความเป็นอยู่ดีขึ้น ด้วยเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย ส่งผลให้การรักษา มีประสิทธิภาพ และลดปัญหาความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
ผลกระทบด้านสังคม
เทคโนโลยีสารสนเทศจะส่งผลทั้งในด้านบวกและด้านลบต่อผู้ใช้งานโดยตรงและบุคคลรอบข้าง ดังน
ี้
ผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต
1. ส่งเสริมการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น สามารถเลือกศึกษาเรื่องใด สถานที่ใด หรือเวลาใดก็ได้
เกิดการเรียนการสอนทางไกล การเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
2. สร้างความเสมอภาคในสังคม เผยแพร่ข่าวสารไปในทุกแห่งแม้ในถิ่นทุรกันดารต่าง ๆ
3. ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม สามารถตรวจสอบและวางแผนรักษาสภาพแวดล้อมได้อย่าง ครอบคลุมและทั่วถึง เพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
4. เพิ่มระบบป้องกันประเทศ โดยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับความมั่นคงของประเทศชาติ ทำให้เกิดระบบป้องกันภัยและระบบเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
และยังมีระบบการใช้คอมพิวเตอร์ในอาวุทยุทโธปกรณ์อีกด้วย
5. เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตทางการค้า จากการผลิตในระบบอุตสาหกรรมที่นำ เครื่องคอมพิวเตอร์มาควบคุม ทำให้เกิดผลผลิตหรือสินค้าที่มีคุณภาพโดยใช้เวลาการผลิตที่สั้นลง
6. ส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เกิดการสร้างภาพยนตร์แอนนิเมชัน มัลติมีเดีย
และสิ่งประดิษฐ์ในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย
7. ช่วยให้สุขภาพและความเป็นอยู่ดีขึ้น ด้วยเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย ส่งผลให้การรักษา มีประสิทธิภาพ และลดปัญหาความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
ผลกระทบด้านสังคม
ความปลอดภัยในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Security) คือ
วิธีการรักษาความปลอดภัยที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันและตรวจสอบ ไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าใช้งานและสร้างความเสียหายแก่เครื่องคอมพิวเตอร์ |
โดยการนำข้อมูลของผู้อื่นไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต
2. การเข้าถึงและการใช้ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อ
ระบบเครือข่าย ซึ่งผู้ไม่หวังดีอาจปล่อยไวรัสคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลและเครื่อง
คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นได้
3. การหลอกลวงผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เนื่องจากใครก็สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไหนและ
เมื่อไหร่ก็ได้ ดังนั้นข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่น่าเชื่อถือเท่ากับแหล่งการเรียนรู้อื่น และด้วยเหตุนี้จึงเป็น
ช่องทางในการหลอกลวงผู้ใช้คนอื่น ๆ
4. การทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะ เครื่องคอมพิวเตอร์ ถึงแม้จะมีการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย แต่ผู้ใช้ก็ไม่ได้พบเห็นหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
โดยตรง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมักขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และเข้ากับผู้อื่นได้ยาก
5. การเผยแพร่วัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากข้อมูลสารสนเทศไม่สามารถระบุเพศหรือวัยของ
ผู้ใช้ได้ ข้อมูลจึงมีความหลากหลาย ดังนั้นผู้รับข้อมูลอาจได้รับข้อมูลที่ไม่เหมาะสมต่อเพศและวัยของตนเอง
ส่งผลให้เกิดความเชื่อที่ผิด และอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้
ผลกระทบด้านการเรียนการสอน
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้กับการศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน ระบบการสื่อสารทางไกลหรือโทรศึกษา การเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ และสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อผู้เรียนทางด้านบวกและด้านลบดังนี้
1. ผลกระทบทางด้านบวก
- ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา
- ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในหัวข้อหรือเนื้อหาที่สนใจได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับ
- สื่อมีความน่าสนใจ ส่งผลให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น
- สื่อมีรูปแบบการนำเสนอแบบโต้ตอบกับผู้เรียน เช่น การทำแบบฝึกหัดแล้วสามารถเฉลยข้อสอบ ให้กับผู้เรียนได้ทันที
- สื่อสามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่นำเสนอได้
- ผู้เรียนสามารถติดต่อ สอบถาม และแสดงความคิดเห็นกับผู้สอนและผู้เรียนคนอื่น ๆ ได้ด้วย การสนทนาออนไลน์ กระดานแลกเปลี่ยน หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
2. ผลกระทบทางด้านลบ
- ผู้เรียนและผู้สอนจะต้องมีความพร้อมด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน
- ผู้เรียนและผู้สอนจะต้องมีความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยี
- เครื่องมือและอุปกรณ์จะต้องมีความทันสมัยเพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายได้ และควรเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- ผู้เรียนและผู้สอนขาดปฏิสัมพันธ์กันโดยตรง
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้กับการศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน ระบบการสื่อสารทางไกลหรือโทรศึกษา การเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ และสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อผู้เรียนทางด้านบวกและด้านลบดังนี้
1. ผลกระทบทางด้านบวก
- ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา
- ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในหัวข้อหรือเนื้อหาที่สนใจได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับ
- สื่อมีความน่าสนใจ ส่งผลให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น
- สื่อมีรูปแบบการนำเสนอแบบโต้ตอบกับผู้เรียน เช่น การทำแบบฝึกหัดแล้วสามารถเฉลยข้อสอบ ให้กับผู้เรียนได้ทันที
- สื่อสามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่นำเสนอได้
- ผู้เรียนสามารถติดต่อ สอบถาม และแสดงความคิดเห็นกับผู้สอนและผู้เรียนคนอื่น ๆ ได้ด้วย การสนทนาออนไลน์ กระดานแลกเปลี่ยน หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
2. ผลกระทบทางด้านลบ
- ผู้เรียนและผู้สอนจะต้องมีความพร้อมด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน
- ผู้เรียนและผู้สอนจะต้องมีความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยี
- เครื่องมือและอุปกรณ์จะต้องมีความทันสมัยเพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายได้ และควรเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- ผู้เรียนและผู้สอนขาดปฏิสัมพันธ์กันโดยตรง
กฎหมายเกี่ยวกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คือ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันการกระทำโดยมิชอบต่อข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ |
ที่มาwww.seekan.ac.th/it_com/lesson_01_2.html
ความสำคัญของคอมพิวเตอร์
ความสำคัญของคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสารได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์อุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาค้นคว้าและการทำธุรกิจ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้องค์กรต่างๆ นำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยในการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกิจและให้บริการบนอินเตอร์เน็ต ตลอดจนการใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงาน
ไม่เพียงแต่ในองค์กรต่างๆ เท่านั้นที่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน ผู้ใช้ตามบ้านโดยทั่วไป ก็ได้จัดหาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ส่วนตัวกันมากขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งสามารถใช้งานได้ง่ายกว่าในอดีตมาก จนมีการประมาณการกันว่า ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในทุกๆ ครัวเรือนเหมือนกับเครื่องรับโทรทัศน์
ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว การเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในการทำงาน, การศึกษาหรือเพื่อความบันเทิง ให้มีประสิทธิภาพและความสะดวกเพิ่มมากขึ้น
คอมพิวเตอร์มีข้อดีอย่างไร ? มนุษย์เราจึงได้นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ได้ เราต้องทราบคุณสมบัติพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เสียก่อน ซึ่งมีอยู่ 5 ประการที่สำคัญดังนี้
1. ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic machine)
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการบันทึกข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้ และเมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกแปลงกลับให้เป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้
2. การทำงานด้วยความเร็วสูง (speed)
เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการดำเนินงานต่างๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที)
3. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (accuracy and reliability)
คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้ ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้
4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (storage)
คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกเข้าไป ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านตัวอักษร
5. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (communication)
คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ และสามารถทำงานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์แบบระบบเดี่ยว ตัวอย่างเช่น การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น (remote computer)
ที่มาku-scmicro36bkk.tripod.com/0.0.htm
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)